Chapter 7 : Promotion (sale promotion )
BY: PRUMSUB WETSUKUM
ความหมาย
การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
-
"เป็นส่วนประสมทางการตลาด
ซึ่งองค์กรใช้เพื่อแจ้งข่าวสารและจูงใจตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรซึ่งต้องอาศัยกระบวนการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อ"
- Promotion is the element of the marketing mix which is
entirely responsible for communicating the marketing proposition.
ความหมายของ sale promotion
-Sales promotion is any initiative
undertaken by an organization to promote an increase in sales, usage or trial
of a product or service.
-กิจกรรมการสื่อสารการตลาดที่มุ่งกระตุ้น พฤติกรรมผู้บริโภคให้ซื้อสินค้า โดยมีข้อเสนอพิเศษ หรือผลประโยชน์ พิเศษ ให้แก่ผู้บริโภค ร้านค้า
และพนักงานขาย การส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มยอดจำหน่าย
SALE PROMOTION (characteristics)
การเลือกใช้ โปรโมชั่น
- เมื่อใดที่ควรใช้การขายโดยพนักงานขายเป็นหลัก คำตอบมีดังนี้
- เมื่อบริษัทมีเงินทุนไม่เพียงพอ
- เมื่อตลาดอยู่รวมกลุ่มกัน
- เมื่อบุคลิกภาพของพนักงานขาย จะช่วยสร้างการยอมรับในผลิตภัณฑ์
- เมื่อสินค้ามีราคาต่อหน่วยสูง
- สินค้าต้องอาศัยการสาธิต
- เมื่อต้องมีการสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม
- เป็นการขายที่เกี่ยวกับการนำสินค้าเก่ามาเปลี่ยน
- เมื่อใดที่ควรใช้การโฆษณาเป็นหลัก คำตอบก็คือ ถ้าหากลูกค้าอยู่กระจัดกระจาย
และต้องการแจ้งข่าวสารแก่บุคคลจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว สินค้าทุกอย่างไม่
สามารถโฆษณาได้หมด ศาสตราจารย์ Neil Borden ได้ระบุเกณฑ์ 5 ประการสำหรับ
สินค้าที่เหมาะกับการใช้โฆษณาคือ- ต้องเป็นการโฆษณาเพื่อกระตุ้นความต้องการขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว โฆษณาจะ
ไม่ได้ผลถ้าคนไม่มีความต้องการ - สินค้าที่โฆษณาต้องเปิดโอกาสให้สร้างความแตกต่างในสินค้าได้ เช่น รถยนต์หรือเครื่องสำอางค์ จะทำการโฆษณาได้ง่ายกว่าเกลือหรือน้ำตาล
- ผลิตภัณฑ์นั้นควรมีคุณภาพที่ซ่อนเร้นอยู่
- ผลิตภัณฑ์นั้นควรมีแรงจูงใจด้านเหตุผลหรือด้านอารมณ์
- บริษัทต้องมีเงินทุนในการโฆษณาที่เพียงพอ
- ต้องเป็นการโฆษณาเพื่อกระตุ้นความต้องการขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว โฆษณาจะ
- เมื่อใดควรใช้การส่งเสริมการตลาดที่มุ่งที่ผู้ค้าปลีก คำตอบมีดังนี้
- ผู้ค้าปลีกรู้ตลาดดีกว่าผู้ผลิต
- ผลิตภัณฑ์สามารถวัดคุณภาพได้ ณ จุดซื้อและมีมาตรฐานสูง ซึ่งต้องอาศัยผู้
ขายในการจัดแสดงสินค้าเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้น เกิดการซื้อกะทันหัน - ผู้ค้าปลีกมีชื่อเสียงดีกว่าผู้ผลิต
- เมื่อใดควรใช้การโฆษณาร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก มีประเด็นที่ควร
พิจารณา 3 ประเด็นคือ- ต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้จำหน่ายสินค้าของเขาในการโฆษณา ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ
ผู้ผลิตมีการเลือกใช้นโยบายการจัดจำหน่ายแบบเลือกสรร (Selective Distribution) หรือแบบผูกขาด (Exculsive Distribution) - เมื่อผู้ผลิตต้องการให้พ่อค้าปลีกกล่าวถึงสินค้าของผู้ผลิตในการโฆษณาของพ่อค้า
ปลีกโดยผู้ผลิตจะช่วยออกค่าโฆษณาของพ่อค้าปลีก - เมื่อพ่อค้าปลีกต้องการเน้นชื่อสินค้าของผู้ผลิตในการโฆษณาและจัดแสดงสินค้า
ของเขาเพราะเห็นว่าชื่อของผู้ผลิตมีความสำคัญต่อการส่งเสริม
- ต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้จำหน่ายสินค้าของเขาในการโฆษณา ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ
กลยุทธ์ผลัก (Push Strategy) หมายถึง
"การที่ผู้ผลิตใช้การส่งเสริมการตลาดมุ่งที่คนกลางในช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต"
หรืออาจหมายถึง
"การใช้ความพยายามในการส่งเสริมการตลาดเพื่อช่วยการขายโดยมุ่งที่สมาชิกในช่องทาง"
หรืออาจหมายถึง "กิจกรรมการตลาดของผู้ผลิต
(โดยทั่วไปใช้กับพนักงานขายและการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง)
เพื่อจูงใจคนกลางให้สั่งซื้อ จำหน่ายผลิตภัณฑ์
และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต"
โดยทั่วไปผู้ผลิตจะส่งเสริมมุ่งที่ผู้ค้าส่งก็จะให้กลยุทธ์ผลักกับผู้ค้าปลีกเพื่อให้พ่อค้าปลีกเข้าถึงลูกค้าผู้บริโภค
เครื่องมือที่ใช้มากสำหรับกลยุทธ์ผลัก
คือการขายโดยใช้พนักงานขายและอาจใช้เครื่องมือส่งเสริมการขายช่วยการสาธิตหรือช่วยการจัดแสดงสินค้าให้กับร้านค้าคนกลาง
กลยุทธ์ผลักใช้กับสินค้าอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับสินค้าบริโภค
กลยุทธ์ดึง (Pull Strategy) หมายถึง
"การมุ่งส่งเสริมสินค้าไปยังผู้ใช้คนสุดท้าย (End User)
เพื่อให้เข้ามาถามซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตจากคนกลาง"
ผู้ใช้ขั้นสุดท้ายส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย
กลยุทธ์นี้ต้องใช้การโฆษณาอย่างมากรวมกับการส่งเสริมการขายที่เป็นไปได้
เช่น ของแถม จัดแสดงสินค้า ฯลฯ
กลยุทธ์ดึงมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อต้องการสร้างความต้องการซื้อของผู้บริโภคให้เกิดขึ้น
ทำให้ผู้บริโภคมาถามซื้อสินค้าของผู้ผลิตจากร้านค้าปลีกใดๆ ก็ได้
ผู้ค้าปลีกก็จะไปถามซื้อจากผู้ค้าส่ง ผู้ค้าส่งก็จะถามซื้อจากผู้ผลิต
วิธีนี้จึงถือว่าเป็นการดึงลูกค้าให้มาสนใจผลิตภัณฑ์ของบริษัท
กลยุทธ์นี้ใช้สำหรับสินค้าบริโภคที่ต้องมีบรรจุหีบห่อที่ดีและสวยงาม
(Consumer Package Goods) ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี
Objective
of promotion
***เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform) อาจเป็นการแนะนำสินค้าใหม่หรืออธิบายลักษณะใหม่ของผลิตภัณฑ์หรือชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
เช่น ไดเอทโค้ก
แจ้งว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่น้อยกว่าหนึ่งแคลอรี่ต่อ 100 กรัม
***เพื่อจูงใจ (To Persude) เป็นการชี้จุดเด่นของสินค้าเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการและเกิดการตัดสินใจซื้อ
เช่น เป๊ปซี่ ใช้สโลแกนว่า รสชาติของคนรุ่นใหม่
***เพื่อเตือนความจำ (To Remind) เป็นการส่งเสริมให้ลูกค้าระลึกถึงสินค้านั้นอยู่เสมอ เช่น นมตราหมีให้พาดหัวว่า เพื่อคนที่คุณรัก
AIDA ประกอบด้วยงานการส่งเสริมการตลาดที่ต้องทำให้เกิดผล 4 ประการตามขั้นตอนคือ
- ดึงให้เกิดความตั้งใจ (To Get Attention)
- ต้องสามารถทำให้มีความสนใจติดตามต่อไป (To Hold Interest)
- กระตุ้นให้เกิดความต้องการ (To Arouse Desire)
- ทำให้เกิดการซื้อ (To Obtair Action)
ซึ่งโมเดลนี้นำไปใช้ในการขายโดยใช้พนักงานและการโฆษณา
ADOPTION PROCESS "เป็นขั้นตอนที่แต่ละบุคคลจะมีการยอมรับหรือปฏิเสธความคิดใหม่" ประกอบด้วยลำดับขั้นตอนคือ
- การรู้จัก (Awareness)
- ความสนใจ (Interest)
- การประเมินผล (Evaluation)
- การทดลอง (Trial)
- การตัดสินใจ (Decision)
- การยืนยันการตัดสินใจ (Confirmation)
The Future of Promotional Model
1. การส่งเสริมการขายจะมีผลกระทบที่สามารถวัดได้จากการขายเสมอ
2. คาดว่าจะมีผลกำไรทางการทำกิจกรรมด้านส่งเสริมการตลาดที่
11% และ 16%
จากการค้า
3. แบรนด์มากมายในอุตสาหกรรมกำลังมีค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย
ในการทำกิจกรรมด้านโปรโมชั่น
4. การส่งเสริมการตลาดในปัจจุบัน จะทำให้เกิดความไม่มั่นคงของทิศทางของการตลาด
lสรุป
การส่งเสริมการตลาด รวมถึง
ส่วนประสมด้านการตลาด มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ
ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคคนสุดท้าย
และหากการส่งสารต่างๆไปยังผู้บริโภคไม่ดีพอ
ก็จะมีผลกระทบกลับมาในด้านของเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งแบบจำลองต่างๆได้พยายามชี้ให้เห็นข้อแตกต่างและข้อจำกัดที่มีอยู่อย่างมากมาย
ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ
จะทำให้การวางแผนในการใช้เครื่องมือดังกล่าว จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
No comments:
Post a Comment