Chapter 8 : Sale Force
BY: วรดิศ ธนภัทร
Sales force หมายถึง กลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อแสวงหาลูกค้าการเสนอขายตลอดจนการให้บริการก่อนและหลังการขาย
Personal selling หมายถึง รูปแบบการติดต่อสื่อสารจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงอาจเรียกว่าเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal communication) ผู้ส่งข่าวสารจะสามารถรับรู้และประเมินผลจากผู้รับข่าวสารได้ทันที
Sales Force Decision Problems
1. การตั้งเป้าหมายในการขาย
2. การกำหนดขนาดของทีมขาย
3. ความพยายามในการคัดสรร ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ลูกค้า การเลือกพื้นที่และเวลาในการขาย
4. การตรวจสอบและควบคุม ประกอบด้วย แรงจูงใจ ค่าตอบแทน การควบคุมและตอบรับ
จากการตอบรับของลูกค้าทำให้มีการพัฒนาสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือจากการตอบรับของลูกค้าสามารถนำไปสู่การจัดทีมหรือกำหนดขนาดของทีมขายได้ ลักษณะนี้เรียกว่า Two-directional flows
Managing the Sales Force
1. กลยุทธ์ในการออกแบบทีมขายและโครงสร้างภายในของทีม หมายถึง วิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารทีมขายของบริษัทต่างๆ
ซึ่งจะมีการแข่งขันกันใน การหาลูกค้า
ดังนั้น บริษัทจึงต้องจ้าง พนักงานขายที่มีความสามารถในการหาลูกค้าได้ตรงกับความต้องการ
ในระยะเวลาและวิธีการที่เหมาะสม
2. การสรรหาและคัดเลือกพนักงานขาย คือ การคัดเลือกพนักงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะสม กับทีมงานขาย
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
การสรรหาและการคัดเลือกพนักงานเป็นปัจจัยหลักของการบริหารทีมขายที่จะประสบความสำเร็จ กล่าวคือ ถ้าบริษัทคัดเลือกพนักงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็จะส่งผลต่อความสำเร็จของบริษัท จากการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของพนักงานชั้นเลิศมี
4 ประการ คือแรงจูงใจภายใน วินัยในการทำงาน
ความสามารถในการปิดการขาย และความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
3. การฝึกอบรมพนักงานขาย
จุดมุ่งหมายของการฝึกอบรมพนักงานขายเพื่อให้พนักงานขายมีความรู้เกี่ยวกับบริษัท
สินค้า ลูกค้า
คู่แข่งขัน เทคนิคการขายและความรับผิดชอบต่อสังคม
การฝึกอบรมการขายต้องกำหนดงบประมาณในการฝึกอบรมและผลลัพธ์ที่จะได้จากการฝึกอบรม
การประเมินผล การฝึกอบรมพิจารณาจากการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานขาย
ปริมาณการขาย การขาดงาน อัตราคำสั่งซื้อ คำติเตียน และคำชมจากลูกค้า จำนวนลูกค้าใหม่ เป็นต้น
4. ค่าตอบแทนของพนักงานขาย เช่น การให้ Incentive เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการขายและกระตุ้นให้พนักงานขายเกิดการแข่งขัน
5. การกำกับดูแลและสร้างแรงจูงใจของพนักงานขาย มีหน่วยงานหรือหัวหน้าทีมคอยดูแลและช่วยเหลือพนักงานและมีการกล่าวคำชมเชยเพื่อให้พนักงานขายมีกำลังใจในการทำงานต่อไป
4. ค่าตอบแทนของพนักงานขาย เช่น การให้ Incentive เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการขายและกระตุ้นให้พนักงานขายเกิดการแข่งขัน
5. การกำกับดูแลและสร้างแรงจูงใจของพนักงานขาย มีหน่วยงานหรือหัวหน้าทีมคอยดูแลและช่วยเหลือพนักงานและมีการกล่าวคำชมเชยเพื่อให้พนักงานขายมีกำลังใจในการทำงานต่อไป
6. การประเมินพนักงานขาย ประเมินจากความสามารถ ทัศนคติ แรงจูงใจ กลยุทธ์การขาย และ
ผลการดำเนินงาน
วิธีการประเมินผลงานของพนักงานขายตามแนวทางพฤติกรรม จะเน้นด้านความสามารถ ด้านทัศนคติ แรงจูงใจ กลยุทธ์การขาย ในขณะที่วิธีการประเมินผลงานของพนักงานขายตามปริมาณของการขายจะเน้นผลลัพธ์ด้านปริมาณ
วิธีการประเมินผลงานของพนักงานขายตามแนวทางพฤติกรรม จะเน้นด้านความสามารถ ด้านทัศนคติ แรงจูงใจ กลยุทธ์การขาย ในขณะที่วิธีการประเมินผลงานของพนักงานขายตามปริมาณของการขายจะเน้นผลลัพธ์ด้านปริมาณ
Designing Sales Force strategy and structure
เมื่อมีการออกแบบกลยุทธ์ในการขาย ต้องจัดตั้งทีมขายและกำหนดขนาดของทีมขาย
ในการจัดตั้งทีมขายคำนึงถึงพื้นที่ในการขายตัวผลิตภัณฑ์กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าและกระบวนการในการดำเนินการขายจึงทำให้ทีมขายมีประสิทธิภาพ
Conclusion
การขายเป็นการเข้าถึงลูกค้า
โดยมีพนักงานขายเป็นผู้ติดต่อสื่อสารให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์กับลูกค้า
จูงใจลูกค้าให้ซื้อสินค้า เรียนรู้จากลูกค้าที่มีความต้องการและนำข้อมูลการตลาดต่างๆ
เช่นการปรับขนาดของทีมขาย การจัดสรร ออกแบบพื้นที่
สร้างแรงจูงใจและค่าตอบแทนกลับมาพัฒนาปรับปรุงในทีมขาย
เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
หลายๆหน่วยงานมีการส่งเสริมและลงทุนอย่างเต็มที่ในการฝึกอบรมและการสร้างแรงจูงใจพนักงานขายเพื่อให้การขายมีประสิทธิภาพ
BY: วรดิศ ธนภัทร
No comments:
Post a Comment